วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำไมเจ้าหนูเตาะแตะจึงชอบขว้างสิ่งของ


ทำไมเจ้าหนูเตาะแตะจึงชอบขว้างสิ่งของ
        เด็กอายุตั้งแต่ 18 เดือนถึง 3 ปี มักจะชอบขว้างสิ่งของซึ่งเป็นทักษะใหม่ที่น่าสนุกสำหรับเจ้าตัวน้อย การขว้างสิ่งของต้องใช้ทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กในการกางนิ้วออกและปล่อยวัตถุออกมา และอย่าลืม การฝึกทักษะในการประสานกันของมือและตาในการเล็งไปยังเป้าหมาย  มิน่าล่ะ เจ้าตัวน้อยของคุณจึงชอบฝึกซ้อมทักษะที่น่าตื่นเต้นนี้  สิ่งที่ตามมา ก็คือ การเรียนรู้ เพราะเจ้าตัวน้อยคงพบว่าเมื่อขว้างสิ่งของแล้วสิ่งของก็จะตกลง ไม่ใช่ลอยขึ้นมา ทั้งๆที่เจ้าหนูไม่รู้จักคำว่า แรงโน้มถ่วง  แต่เจ้าหนูก็สามารถสังเกตเห็นผลของมันได้  ในขณะเดียวกัน ถ้าเจ้าหนูโยนลูกบอลก็เห็นว่ามันเด้งขึ้นมาได้ แต่ถ้าโยนผลไม้ลงกับพื้น มันกลับแตกอยู่ที่พื้น  สำหรับคุณ ก็คงต้องเหนื่อยเพราะเจ้าตัวน้อยโยนอาหารลงไปที่พื้น ให้คุณต้องคอยกวาดถูในทุกมื้อ แต่สำหรับเจ้าตัวน้อย เขากำลังสนุกอยู่นั่นเอง

แล้วคุณจะทำอย่างไรกับการขว้างสิ่งของ

Dr. Roni Leiderman ผู้ช่วยคณบดีศูนย์ครอบครัวของ Nova Southeastern University ใน Fort Lauderdale, Florida กล่าวว่า ถ้าเจ้าตัวน้อยของคุณไม่ได้ขว้างก้อนหินใส่กระจก หรือทำให้ใครต้องบาดเจ็บ ไม่จำเป็นต้องทำโทษเด็กจากการขว้างสิ่งของ และเป็นการไร้ประโยชน์ที่จะพยายามหยุดไม่ให้เด็กๆ ขว้างสิ่งของในอายุนี้  สิ่งที่พึงกระทำคือจำกัดสิ่งที่เด็กจะขว้าง และสอนให้รู้ว่าขว้างไปที่ไหนได้

สอนให้เด็กรู้ว่าจะขว้างอะไรได้บ้าง  เจ้าตัวน้อยของคุณจะเรียนรู้ได้ว่าขว้างอะไรไม่ได้เร็วกว่าถ้ามีอะไรให้เธอขว้างมากกว่า และยังได้รับการสนับสนุนให้ขว้างด้วย  แน่นอน ลูกบอลก็ควรจะเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ขว้างได้ ซึ่งคุณควรจะมีลูกบอลโฟมไว้เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุใดๆ  เด็กๆยังชอบเกมขว้างเช่นการโยนถุงถั่วไปในตะกร้า โดยเฉพาะถ้าคุณเล่นกับเขา  สิ่งที่คุณต้องการจะให้เขาเข้าใจคือ การขว้างสิ่งของนั้นทำได้ถ้าเด็กๆขว้างสิ่งที่ขว้างได้ไปยังที่ๆควรขว้างในเวลาที่ควรขว้าง  ถ้าเด็กขว้างบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้า ก็ค่อยๆเอารองเท้าออกมา และบอกกับเด็กว่า รองเท้าไม่ได้มีไว้ขว้าง แต่ลูกบอลมีไว้ขว้าง พร้อมกับเอาลูกบอลให้เด็กเล่น  Dr. Leiderman กล่าว

ไม่สนับสนุนการขว้างที่ก้าวร้าว  คุณควรจะทำอย่างไรเมื่อเจ้าตัวน้อยของคุณขว้างของที่ไม่ควรจะขว้าง เช่น หยิบทรายในกะบะทรายแล้่วโยนออกไป หรือ ขว้างบล็อกใส่เพื่อน  คุณจะต้องพยายามไม่สนใจในสองสามครั้งแรกที่เกิดขึ้น ถ้าเด็กรู้ว่าสามารถเรียกร้องความสนใจได้ถ้าขว้างของที่ไม่ควรจะขว้าง เด็กก็จะทำพฤติกรรมนั้นอีก

ถ้าลูกของคุณเกือบจะทำให้เด็กคนอื่นบาดเจ็บด้วยการขว้างของใส่ คุณจะต้องทำเช่นเดียวกัน เพราะเด็กจะเรียนรู้จากการทำซ้ำ  ถ้าเจ้าตัวน้อยทำอีก ก็ให้บอกว่า ไม่นะ ทำอย่างนั้นแล้วเจ็บ  แล้วพาเจ้าตัวน้อยออกมา “time out” และค่อยพาหนูน้อยออกไปจากสถานการณ์นั้นเพื่อให้เจ้าตัวน้อยไปเริ่มทำอย่่างอื่นแทน  กุญแจสำคัญคือ ให้ time out ไม่เกินหนึ่งนาที (สำหรับอายุขนาดนี้ ประมาณ 30 วินาทีก็พอ) เพื่อให้เด็กไม่ลืมในสิ่งที่เธอทำแล้วถูกสั่งให้หยุดทำ  ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าเจ้าตัวน้อยขว้างของใส่เด็กคนอื่นเวลาที่โกรธ คุณต้องสนับสนุนให้เปลี่ยนเป็นการแสดงออกทางคำพูดแทน เช่น ถ้าหนูโกรธ Emily หนูพูดซิคะ หรือ หนูมาบอกแม่นะเวลาที่หนูโมโห  คุณยังสามารถที่จะให้ลูกรู้ว่าคุณไม่พอใจในพฤติกรรมนั้นๆได้ด้วยน้ำเสียงของคุณ แต่อย่าให้ความโมโหของคุณเป็นตัวกำหนดล่ะ พยายามไม่ตะโกนใส่ลูก และไม่ตีเด็ก แม้แต่ตีมือ เพียงเพราะคุณต้องการหยุดไม่ให้ลูกขว้างของ

ถ้าลูกยังคงขว้างของในลักษณะที่น่าทำให้มีคนเจ็บ แม้ว่าคุณพยายามที่จะทำให้เจ้าตัวน้อยสงบแล้ว คุณอาจจะไม่มีทางเลือกนอกจากต้องคอยดูอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเป็นเงาตลอดเวลาที่เจ้าตัวน้อยเล่นของเล่น

ผูกของเล่นไว้กับเก้าอี้  เวลาที่เจ้าตัวน้อยนั่งในรถเข็นเด็กหรือเบาะในรถ ลองผูกของเล่นไว้ให้ถือได้ (ใช้สายสั้นๆ ที่จะไม่ยาวเกินไปจนอาจจะไปรัดคอเด็กได้) เด็กจะพบว่านอกจากขว้างของได้แล้ว เจ้าตัวน้อยยังจะดึงมันกลับมาได้ด้วย วิธีนี้ช่วยเพิ่มความสนุกและลดภาระของคุณที่ต้องคอยเก็บอีกด้วย

ช่วยกันเก็บของ  อย่าคิดแต่เพียงจะบอกให้เจ้าตัวน้อยเก็บของที่เพิ่งโยนออกไป Dr. Liederman กล่าวว่า มันเป็นงานที่มากเกินไปสำหรับเด็กอายุเพียงนี้  แต่ให้คุณคุกเข่าลง และช่วยลูกในทำนองที่ว่า ลองมาดูกันซิว่า เราจะช่วยกันเก็บบล็อกได้เร็วแค่ไหน หรือ หนูจะ่ช่วยแม่หา M&M สีเหลืองได้มั้ย

AttributionNoncommercialNo Derivative Works Some rights reserved by Etolane
สร้างตัวอย่างที่ีดี  คุณไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการโยนหมอนบนโซฟาเพื่อจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับลูก  คุณยังโยนสิ่งต่างๆ ได้เพื่อทำให้เจ้าตัวน้อยเห็นว่าอะไรที่โยนได้ และอะไรที่โยนไม่ได้  เมื่อไรก็ตามที่ลูกของคุณขว้่างของที่ไม่ควรจะขว้าง คุณก็พาทัวร์รอบๆบ้านด้วยการโยนถุงเท้าใส่ตะกร้า โยนกระดาษใส่ถัง หรือของเล่นในกล่องของเล่น

นั่งกับเจ้าตัวน้อยขณะทานอาหาร  คุณสามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องเก็บกวาดการโยนอาหารได้ด้วยการนั่งกับเจ้าตัวน้อยในขณะทานอาหาร  ด้วยวิธีนี้ คุณสามารถที่จะบอกเจ้าตัวน้อยได้ทันทีไม่ให้ขว้างอาหารเมื่อเห็นเจ้าตัวน้อยพร้อมจะขว้างอาหารหรือคุณอาจจะจับจานวางลงถ้าจำเป็น Dr. Liederman บอกว่า ผู้ปกครองควรจะนั่งด้วยเวลาเด็กทานอาหารแล้วพูดคุยกับเด็ก เพื่อช่วยพัฒนาทักษะทางภาษา  นอกจากนี้ยังสามารถนั่งเพื่อคอยดูว่าเด็กเคี้ยวอาหารได้ละเอียดพอ ก่อนที่จะกลืนเพื่อกันการสำลักอาหารอีกด้วย

ใช้จานชามสำหรับเด็ก  Dr. Liederman กล่าวว่า อย่าใช้จานกระเบื้องดีๆ หรืออะไรที่แตกได้ในการป้อนอาหารเด็กเล็ก  ให้ใช้ถ้วยชามพลาสติกแบบที่มีจุกสูญญากาศที่จะไว้ยึดกับโต๊ะ ที่เด็กจะไม่สามารถยกจานขึ้นมาได้ แต่อย่าลืมว่าถ้วยแบบนี้จะใช้ได้ดีสำหรับเด็กที่จับแล้วปล่อย แต่คงไม่สามารถหยุดเด็กที่ยิ่งสนใจว่าทำไมจานถึงติดได้ และ จะยิ่งดึงให้แรงเพื่อให้หลุด

ใช้อาหารจำนวนน้อยๆ ถ้าคุณเตรียมอาหารเป็นสัดส่วนน้อยๆ แล้วค่อยๆเติมจะช่วยลดจำนวนอาหารที่ถูกขว้างทิ้งเพราะเจ้าตัวน้อยมีของให้ขว้างน้อยลง  Dr. Liederman บอกว่า อย่าผลักดันให้เด็กทานมากกว่าที่ต้องการ เว้นแต่ว่าหมอบอกว่าเด็กกำลังขาดอาหาร  เด็กส่วนใหญ่จะไม่เริ่มขว้างอาหารจนกว่าจะทานเสร็จ หรือ เริ่มเบื่อ  เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเด็กจะทานมากน้อยเพียงไร การโยนอาหารเป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าเด็กอิ่มแล้ว และคุณก็นำเด็กออกจากโต๊ะอาหาร  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น