วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีการป้องกัน : โรคลมแดด (ฮีทสโตรก)


cracking up  AttributionNo Derivative Works Some rights reserved by needoptic
วิธีการป้องกัน : โรคลมแดด (ฮีทสโตรก)
แพทย์หญิงอัญชนา สัจจพุทธวงศ์

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคระบบหายใจ และเวชบำบัดวิกฤต

ในช่วงอากาศร้อน สิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรตระหนักถึงสัญญาณและอาการของโรคที่มากับอาการร้อน   
โรคลมแดด
โรคลมแดด เป็นอาการที่เกิดจากการที่ร่างกาย (โดยเฉพาะเด็ก)ได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ในบางครั้งเด็กจะแสดงอาการเบื้องต้นได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อยล้า อ่อนเพลีย มึนงง บางคนอาจแสดงอาการของโรคลมแดดอย่างกระทันหันโดยไม่มีอาการบ่งบอกแต่อย่างไร
สัญญาณสำคัญของโรคลมแดด (ฮีทสโตรก) ได้แก่
  • อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
  • ไม่มีเหงื่อออก ผิวหนังร้อนและแห้ง
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • หายใจลำบาก
  • กระสับกระส่าย
  • ชัก เกร็ง

AttributionNoncommercialNo Derivative Works Some rights reserved by p!o
หากพบเจอผู้เป็นโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย
นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
วิธีการป้องกันโรคลมแดด คือ
การปรับสภาพร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อน ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการภาวะขาดน้ำหรือทำกิจกรรมในที่ที่มีอากาศที่ร้อนจัดเกินไป
หากรู้ว่าทำกิจกรรมท่ามกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้เพียงพอทั้งก่อนและหลังจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพย์ติด
ควรมีการหยุดพักเป็นระยะๆ เพื่อรักษาสมดุงของน้ำในร่างกาย สวมหมวกและใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น