วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ลำดับขั้นของพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน



พัฒนาการของเด็ก แบ่งได้หลายแบบ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ

1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) และ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)

2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor    Development) และพัฒนาการด้านภาษา (Language Development)

3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)

4. พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) และ พัฒนาการด้านคุณธรรม (Moral Development)

เด็กปกติทั่วไปจะมีลำดับขั้นของพัฒนาการใกล้เคียงกัน ถ้าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเกิน 6 เดือนขึ้นไป ถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างที่ต้องรีบช่วยเหลือ และกระตุ้นพัฒนาการอย่างเร็วที่สุด
พัฒนาการปกติในแต่ละช่วงวัยเป็นดังนี้

พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
งอแขนขา, เคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ด้าน
หันหน้าซ้ายขวา
ชันคอ
ยกแขนดันตัวชูขึ้นในท่าคว่ำ
คว่ำหงายได้เอง
นั่งได้มั่นคง, คลาน, เกาะยืน
เกาะเดิน
เดินเองได้
วิ่ง, ยืนก้มเก็บของ
เตะลูกบอล, กระโดด 2 เท้า
ขึ้นบันไดสลับเท้า, ถีบรถ 3 ล้อ
ลงบันไดสลับเท้า, กระโดดขาเดียว
กระโดดสลับเท้า, เดินต่อเท้า
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
ปฏิกิริยาสะท้อนที่ฝ่ามือ
กำมือแน่น
กำมือหลวม, มองตาม
คว้าของใกล้ตัว
หยิบของมือเดียว, เปลี่ยนมือได้
ใช้นิ้วหยิบของเล็กๆ
หยิบของใส่ถ้วย/ใส่กล่อง
วางก้อนไม้ซ้อน 2 ชั้น
วางก้อนไม้ซ้อน 3 ชั้น
วางก้อนไม้ซ้อน 6 ชั้น
วาดวงกลมตามแบบ
วาดสี่เหลี่ยมตามแบบ
วาดสามเหลี่ยมตามแบบ
พัฒนาการด้านภาษา (Language Development)
* การรับรู้ภาษา (Receptive Language Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
แยกเสียงแม่จากผู้หญิงคนอื่นได้
-
ฟังเสียงคนคุยด้วย
พยายามหันหาเสียง
หันหาเสียงเรียกชื่อ
เข้าใจสีหน้า, ท่าทาง
ทำตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้
ชี้ส่วนต่างๆบนใบหน้าตามคำบอก
-
ชี้รูปภาพตามคำบอก
รู้จัก 3 สี
รู้จัก 4 สี
-  
* การสื่อภาษา (Expressive Language Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
ร้องไห้
ทำเสียงในคอ
ยิ้มตอบ
อ้อแอ้, หัวเราะโต้ตอบ
เล่นน้ำลาย, ส่งเสียงหลายเสียงนอกจาก อ
ปาปา, มามา
พูดคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ
พูดคำโดดที่มีความหมาย 2-3 คำ
พูดคำโดดหลายคำ (เฉลี่ย 50 คำ)
พูด 2-3 คำต่อกันมีความหมาย, บอกชื่อ
เล่าเรื่องเข้าใจครึ่งหนึ่ง
เล่าเรื่องเข้าใจทั้งหมด, ออกเสียงถูกต้อง
นับเลขได้ถึง 20

พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
มองหน้าช่วงสั้น
มองจ้องหน้า
ยิ้มตอบ, สบตา
ยิ้มทัก, ท่าทางดีใจเมื่อเห็นอาหาร/คนเลี้ยงดู
กลัวคนแปลกหน้า
ร้องตามแม่, เล่นจ๊ะเอ๋, หยิบอาหารกิน
ตบมือ, โบกมือ, สวัสดี
ถือถ้วยน้ำดื่มเอง
จับช้อนตักอาหาร
บอกได้เวลาขับถ่าย, เลียนแบบผู้ใหญ่
รู้เพศตนเอง, ถอดรองเท้า, ใส่เสื้อ
เล่นรวมกลุ่มได้, ติดกระดุมลำดับขั้นของการพัฒนากา
เล่นอย่างมีกติกา, เล่นสมมติ, รู้อายุ, แต่งตัวเอง  


เครดิต : http://www.happyhomeclinic.com/sp02-development.htm

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

10 อันดับกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับลูกน้อย

          พ่อแม่มือใหม่รู้เสมอว่ากิจกรรมการเล่นมีผลต่อพัฒนาของลุกน้อย แต่ส่วนใหญ่ก็ประสบปัญหาว่า ไม่รู้จะเล่นกับลูกอย่างไร โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจ ที่ทุกคนในครอบครัว มีเวลาให้กันและกันน้อยลงไปทุกที ยิ่งทำให้พ่อแม่ มือใหม่ได้แต่แสดงความรักให้ลูกน้อยด้วยการซื้อของแพงๆ ให้ โดยไม่นึกว่าอาจจะเป็นผลลบต่อลุกที่รักก็ได้ เราลองมาดูกันว่า
ผลการสำรวจความเห็นจากพ่อแม่ของเด็กวัยตั้งแต่ 0-4 ปี ในสหรัฐอเมริกา อะไรคือ 10 กิจกรรมสร้างสรรค์ ที่พ่อแม่เชื่อว่า สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กในเยาว์วัย เรามาเริ่มจากอันดับที่สิบกันก่อน น๊ะจ๊ะ



                                  อันดับที่ 10 การวาดภาพ (Painting)

ศิลปะ นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยสร้างจิตนาการไม่เฉพาะกับเด็ก แต่รวมไปถึงผู้ใหญ่ การให้ลูกน้อย ได้มีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปะ หรือวาดภาพ ถึงแม้จะเป็นภาพที่ไม่มีความหมายอะไร แต่การวาดภาพ ก็ช่วยให้ลูกน้อยได้ใช้กล้ามเนื้อนิ้มมือในการจับพู่กัน หรือปากกา กล้ามเนื้อมือและแขนในการขยับปากกาไปตามแนวฝึกทักษะขอแงความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ





อันดับที่ 9 การปีนป่าย (Climbing )
ไม่ว่าจะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง คงไม่มีใครจะปฎิเสธว่าเด็กทุกคน ชอบที่จะปีนป่ายไปตามสิ่งกีดขวางต่างๆ เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทายให้สำรวจการปีนป่าย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกายอีกด้วย




                                                                  อันดับที่ 8 การเล่นกับลูกบอล (Playing ball )

ผู้ใหญ่อาจมองการเล่นกับลูกบอลในลักษณะที่เป็นกีฬา แต่สำหรับเด็กนั้น ลุกบอลเป็นเครื่องเล่นที่สามารถสร้างจินตนาการและพัฒนาลักษณะต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพียงการใช้มือกลิ้งบอล หรือการเตะบอลไปมา การโยนลูกบอลบนอากาศและรับ ไปจนถึงการกลิ้งตัวบนลูกบอลในลักษณะต่างๆ ลูกบอลอาจจะถือได้ว่า เป็นเครื่องเล่นพื้นฐานที่สุด ซึ่งสามารถพัฒนาได้ทั้งกล้ามเนื้อในส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก ไปจนถึงการฝึกทักษะการสร้าง ความสัมพันธ์ของตาและมือ และการฝึกการสร้างสมดุลของร่างกายด้วย


อันดับที่ 7 การเล่นดนตรี และการเล่นคอมพิวเตอร์ (Playing music and computer )
เป็นอันดับที่มีกิจกรรมสองกิจกรรมได้คะแนนเสมอกัน ในสิ่งที่ถือว่า แตกต่างกันพอสมควร เนื่องจากดนตรี นับเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญมากของการพัฒนาลูกน้อยคล้ายกับการวาดภาพ การเล่นดนตรีช่วยสร้างทักษะในการ ฟังเสียงของเด็ก การฝึกทักษะของกล้ามเนื้อนิ้มมือ และแขน

อันดับที่ 6 การร้องเพลง(singing)
การเล่นคอมพิวเตอร์ดูจะเป็นกิจกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก มีกังวล เนื่องจากเห็นว่า อาจจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างทักษะหรือพัฒนาการให้เด็กน้อยได้มากเท่าที่ควร แต่คงจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกแห่งสาระสนเทศในปัจจุบัน พ่อแม่ต้องการให้ลูกได้มีโอกาสเริ่มสัมผัสกับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งมีโปรแกรม ต่างๆ คอยตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ได้เป็นอย่างดี

อันดับที่ 5 การฟังเพลงและการเล่นในสนามเด็กเล่น (Listening to music and playground)
หลายทฤษฏีในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการให้เด็กเล็กได้ฟังเพลงที่มีคุณภาพเช่น เพลงคลาสสิค จากความเชื่อที่ว่าจะสามารถช่วยพัฒนาสมองและจินตนาการได้เป็นอย่างดี พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญเรื่อง การฟังเพลงมาก คงจะไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ไม่เคยร้องเพลงให้ลุกน้อยฟัง การร้องเพลงช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็กได้อย่างดี และยังเป็นเครื่องมือในการสร้างจิตนาการ และสุนทรียภาพให้กับลูกน้อยอีกด้วย การร้องเพลงพร้อมกิจกรรม ประกอบ ท่าทาง ยังช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อต่างๆ การสร้างจิตนาการ และการประสานท่าทางกับคำร้อง


อันดับที่ 4 การเล่นจินตนาการและการระบายสีบนภาพ (Playing make-believe,coloring)
การระบายสีบนภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับคะแนนสูง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างจินตนาการได้ ดีที่สุดกิจกรรมหนึ่ง และยังช่วยฝึกความเข้าใจในสีต่างๆ และพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อต่างๆ คล้ายกับการวาดภาพ พ่อแม่ส่วนใหญ่ให้คะแนนการเล่นของเล่นสูง คงจะเป็นเพราะของเล่นในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาจากของเล่นที่ เพียงแต่สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน ให้เป็นของเล่นที่พัฒนาทางความคิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อใน การจับชิ้น ส่วนต่างๆ การฝึกจับคู่วัสดุลงในช่องที่มีรูปลักษณะเหมือนกัน การต่อของเล่นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการพัฒนาและฝึกทักษะหลายๆ อย่าง ในเวลาเดียวกันได้เป็นอย่างดี การวาดลายเส้นนอกจากจะช่วยสร้างจินตนาการแล้วยังช่วยสร้างทักษะในการใช้ดินสอ หรือปากกาด้วย ทั้งยังส่งผลให้ลูกน้อยเข้าใจรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรง วงกลม สี่เหลี่ยม ฯลฯ ที่จะมาประกอบกันเป็นรูปภาพ จะช่วย ให้เด็กมีการพัฒนาที่ดีทางด้านทักษะที่จะนำไปสู่การเขียนหนังสือและการวาดภาพ


อันดับที่ 3 การเล่นของเล่น(Playing with toy )
ในขณะเดียวกัน การให้ลูกน้อยได้มีโอกาสเล่นในสนามเด็กเล่น ได้รับคะแนนสูงในระดับเดียวกัน เพราะการเล่นในสนามเด็กเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้พัฒนากล้ามเนื้ออย่างเต็มที่ และนอกจากนี้ยังได้พัฒนาศักยภาพทางสังคม จากการได้พบกับเพื่อนใหม่ๆ ในวัยเดียวกัน และวัยที่ต่างกัน



อันดับที่ 2 การวาดลายเส้น(Drawing )
การเล่นจินตนาการ หรือ การเล่นสมมติจำลองให้ตุ๊กตาหรือคนทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัว เป็นการฝึกจินตนาการได้ดี และยังเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะด้านภาษาอีกด้วย เช่น การจัดงานวันเกิดให้ตุ๊กตาหมี สามารถฝึกให้ลูกน้อยเข้าใจ ศัพท์ต่างๆ ที่จะต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นเค้ก จาน แก้วน้ำ ฯลฯ รวมไปถึงการร้องเพลงด้วย


อันดับที่ 1 การอ่าน(Reading )
กว่าสามในสี่ของพ่อแม่ที่ร่วมทำการสำรวจบอกว่า อ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง การอ่านนอกจากเป็นการสร้างจินตนาการ การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เพราะลูกจะรู้สึกถึงความอบอุ่นจากพ่อแม่ได้อย่างใกล้ชิดที่สุด


ได้รู้จักกับสิบอันดับกิจกรรมสร้างสรรค์ที่พ่อแม่ชาวอเมริกันนิยมนำมาใช้เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะ
และพัฒนาการขั้นพื้นฐานให้กับลูกๆ กันแล้ว ลองนำไปใช้กับลูกน้อยของท่านบ้างนะค่ะ


ที่มา nonthaburi.moph.go.th

เรียบเรียงโดย www.พัฒนาการเด็ก.com

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละวัย



ในเด็กบางคนอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สังเกตให้ดี ก็จะไม่ทราบ หรือคิดไปเองว่าเดี๋ยวคงจะพัฒนาได้เองในภายหลัง ซึ่งความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดและอันตรายต่อตัวลูกน้อยเป็นอย่างมาก เพราะพัฒนาการของลูกในช่วงเริ่มต้นจะเชื่อมโยงกันและกัน หากมีพัฒนาการอย่างหนึ่งช้าหรือไม่สมวัยก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นต่อไปเป็นทอดๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจถึงพัฒนาการที่สมวัยและไม่สมวัยควบคู่กันไป


ตารางเช็กพัฒนาการลูกน้อยให้สมวัย
ช่วงวัยพัฒนาการลูกน้อยสมวัยพัฒนาการลูกน้อยไม่สมวัย
ลูกน้อยวัยแรกเกิด- ขยับแขนขาได้บ้าง
- สะดุ้งตกใจหรือร้องไห้ เมื่อได้ยินเสียงดัง
- ส่งเสียงร้องเมื่อหิว และไม่สบายตัว
- กรอกตาตามวัถตุที่อยู่ใกล้ๆ
- ไม่สะดุ้ง ไม่ร้องไห้ เมื่อเกิดเสียงดัง
- ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
ลูกน้อยวัย 1 เดือน- ชันคอ ผงกหัว
- ส่งเสียอ้อแอ้ในลำคอ
- กำมือแน่นเมื่อมีวัตถุในฝ่ามือ
- เริ่มมองตามที่มาของเสียงและวัตถุที่เคลื่อนไหวอยู่ใกล้ๆ
- ไม่ส่งเสียงครางอ้อแอ้
- ทำตาเขบ่อยๆ
- ตาทั้ง 2 ข้างมองไม่ตรงจุดเดียวกัน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน- ชันคอในท่าคว่ำได้
- หันหาที่มาของเสียง
- มองตามวัตถุที่เคลื่อนที่
- ส่งเสียงตอบในลำคอ และยิ้ม
- ไม่มีการตอบสนองเมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าไปเล่นด้วย
- ไม่มองตามของเล่นที่มีเสียงและมีสีที่สดใส
- หยิบจับสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาไม่ได้
ลูกน้อยวัย 4 เดือน- ใช้มือยันค้ำตัวให้นั่งได้
- ยิ้มทักทาย และยิ้มแสดงความดีใจได้มากขึ้น
- เริ่มคว้าของใกล้ตัว
- ใช้มือได้ข้างเดียว
- จับนั่งแล้วมีอาการขาอ่อนปวกเปียก
- กล้ามเนื้อแข็ง เกร็ง เมื่อเดิน
ลูกน้อยวัย 6 เดือน- พลิกตัวคว่ำและหงายได้เอง
- หยิบจับสิ่งของที่มีน้ำหนักได้แล้ว
- เปลี่ยนของไปอีกมือได้
- ใช้นิ้วมือหยิบจับได้
- เข้าใจภาษา และพูดพยางค์เดียวได้แล้ว
- พูดคำซ้ำๆ วนไปวนมาหลายๆ ครั้ง
- มองไปทางอื่นเวลาพูดคุย
- หยิบของเข้าปากจะร่วงหล่นเสมอ
- ยังพลิกตัวเองไม่ได้
- ไม่หัวเราะ
ลูกน้อยวัย 9 เดือน- เกาะ ยืน เดินได้เอง
- เล่นและแสดงอารมณ์ได้มากขึ้น
- ไม่แสดงอารมณ์ แม้ในขณะดีใจ
- ชอบชี้ให้มองในสิ่งที่อยู่ไกลๆ
- ไม่ชอบมองหน้าพ่อแม่
ลูกน้อยวัย 1 ขวบ- เริ่มอยากออกสำรวจ
- เข้าใจและร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า
- รู้จักส่ายหัวเพื่อปฏิเสธ
- เลียนเสียงและท่าทางของสัตว์
- เก็บตัว ชอบเล่นคนเดียวหรืออยู่คนเดียว
- ทำท่าทางแปลกๆ ซ้ำๆ เช่น เดินเขย่ง
- ยังคลานไม่ได้
- ไม่ยอมเดินเมื่อจับให้เดิน
- ยังเรียกพ่อแม่ไม่ได้


หากคุณพ่อคุณแม่เฝ้าสังเกตพัฒนาการของลูกน้อยจนแน่ใจแล้วว่าไม่ถูกต้องสมวัย อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการส่งเสริมพัฒนาการให้ถูกต้อง และรับรู้วิธีแก้ไขให้ดีขึ้นและสมวัยต่อไป 

เครดิต จาก http://www.care.co.th/smartmom?gclid=CPeB9JbEgLQCFU966wodfhEA5A