วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

ท้องร่วงในทารกและเด็กเล็ก


อาการอย่างไร จึงจะเรียกว่าท้องร่วง

ท้องร่วงในความหมายของแพทย์ หมายถึง อาการผิดปกติทางการย่อยและการดูดซึมของกระเพาะลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ จำนวนครั้งเพิ่มขึ้น เช่น ถ่าย 3 ครั้งภายใน 12 ชั่วโมง หรือถ้าถ่ายเป็นมูกเลือดเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าเป็นโรคท้องร่วง ยกเว้นในทารกเกิดใหม่หรือเด็กที่กินนมแม่ อาจมีอุจจาระบ่อยครั้งและเหลวกว่าธรรมดา ก็ถือว่าเป็นปกติ
ผลตามมาของอาการท้องร่วง ก็คือ ทำให้เกิดการเสียน้ำเสียเกลือและสารอาหารต่างๆ ไปทางอุจจาระ ถ้าเป็นมากก็อาจทำให้คนไข้มีอาการกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ปากแห้งลิ้นแห้ง ปัสสาวะออกน้อย ดังที่เรียกว่า อาการขาดน้ำ บางทีเป็นมากๆ ถึงกับทำให้ตัวเย็นเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาเร็ว หรือที่เรียกว่า ช๊อค ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ถ้าเด็กไม่เสียชีวิตจากอาการช๊อค ก็อาจเสียชีวิตจากการขาดอาหาร แล้วมีโรคติดเชื้อแทรกซ้อนในภายหลังได้

สาเหตุที่ทำให้ท้องร่วงมีอะไรครับ

สาเหตุที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่
1. โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น เชื้อบิดซิเกลล่า (บิดไม่มีตัว) อหิวาต์ ซัมโมเนลล่า ฯลฯ
2. อาหารเป็นพิษ เนื่องจากอาหารที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีสารพิษซึ่งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจากพืชหรือสารอื่นๆ ปะปนมาในอาหาร
3. โรคติดเชื้อในระบบหายใจ เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดบวม
4. การขาดน้ำย่อย
5. โรคพยาธิต่างๆ หรือโปรโตซัว เช่น เชื้อบิด อะมีบ้า (หรือบิดมีตัว)
6. ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หรือนอกระบบทางเดินอาหาร เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (คอพอกเป็นพิษ) ต่อมหมวกไตทำงานน้อยลง ฯลฯ พวกนี้มักมีอาการท้องร่วงไม่รุนแรง แต่ว่าเป็นเรื้อรัง
7. สาเหตุอื่นๆ เช่น กินยาระบายหรือยาถ่าย
การติดเชื้อ (สาเหตุ 3 ข้อแรก) ดูเหมือนจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงในทารกและเด็ก

ในกรณีที่มีเชื้อโรคเข้าไปในกระเพาะลำไส้หรือที่เรียกว่า การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารนั้น ทำไมจึงทำให้เกิดมีอาการท้องร่วงได้ล่ะครับ

เมื่อมีเชื้อโรคเข้าไปทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะลำไส้ จะทำให้ลำไส้มีความผิดปกติเกิดขึ้นดังนี้ คือ
1. มีการดูดซึมน้ำ และอาหารที่กินเข้าไปน้อยลง
2. มีการหลั่งของเหลวจากผนังลำไส้เข้ามาในโพรงลำไส้มากขึ้น
3. มีการบีบตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น พาเอาน้ำในโพรงลำไส้ออกมา ผลสุดท้ายก็จะได้อุจจาระซึ่งเหลวเป็นน้ำออกมาทางทวารหนัก

นอกจากนี้ ยังมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ที่สามารถสร้างพิษออกมากระตุ้นทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ เชื้อตัวที่พบบ่อยมากที่สุดได้แก่ เชื้อสแต๊ฟฟัยโลคอดคัส ซึ่งติดมากับมือของผู้ประกอบอาหารเชื้อนี้ชอบอยู่ในอาหารพวกโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปู เมื่อมีความชื้นพอสมควร มันก็จะแบ่งตัวรวดเร็ว และปล่อยพิษออกมาในอาหาร เมื่อคนกินอาหารที่มีสารพิษของเชื้อนี้เข้าไป ก็จะเกิดอาการท้องร่วงได้ ข้อสำคัญคือ สารพิษของเชื้อตัวนี้ทนต่อความร้อน แม้ว่าจะนำอาหารไปหุงต้มจนเดือดแล้วก็ตาม มันก็ยังออกฤทธิ์ได้
ที่ว่าอาหารเป็นพิษ จะมีอาการอย่างไรบ้างครับ
อาหารเป็นพิษ หมายถึง อาการท้องร่วงจากการกินอาหารที่มีสารพิษเข้าไป อาจเป็นสารพิษจากเชื้อโรคจากพืช หรืออื่นๆ ก็ได้ แต่สาเหตุที่พบบ่อยก็คือสารพิษจากเชื้อ สแต๊ฟฟัยโลคอดคัส ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้มีอาการอาเจียน และปวดท้องบิดอย่างรุนแรง แล้วต่อมาจะมีอาการท้องร่วง ในตอนแรกๆ อาจถ่ายเป็นน้ำสีเขียวต่อไปอาจมีมูกปนได้ มันจะเกิดอาการภายใน 8-12 ชั่วโมง หลังกินสารพิษเข้าไป แต่ในเด็กทารก อาจเกิดอาการภายใน 2-4 ชั่วโมง อาการท้องร่วงชนิดนี้ ชาวบ้านรู้จักกันดี ที่เรียกว่า โรคลมป่วง นั่นแหละ

อาการท้องร่วงจากเชื้อตัวอื่นๆ จะมีลักษณะเหมือนกับอาหารเป็นพิษหรือเปล่าครับ

อาการท้องร่วงจากเชื้อโรคแต่ละชนิด จะมีลักษณะบางอย่างแตกต่างกันไป เช่น ถ้าเกิดจากเชื้อบิดชิเกลล่า หรือบิดไม่มีตัว เด็กจะมีไข้สูงและซึม บางคนอาจมีอาการชักจากไข้สูงได้ อุจจาระในระยะแรกอาจถ่ายเป็นน้ำ ต่อมามีมูกหรือเลือดปน
ถ้าเกิดจากเชื้อ ซัลโมเนลล่า (เชื้อในกลุ่มเดียวกับตัวที่ทำให้เกิดไข้รากสาดน้อย หรือไข้ทัยฟอยด์แต่เป็นคนละตัวกัน) จะเกิดอาการภายใน 4-8 ชั่วโมง โดยมีอาการอาเจียนและท้องร่วง อาจมีไข้ต่ำๆ ไม่สูงนัก หรือไม่มีไข้ก็ได้ และแม้ว่าไข้จะลดในวันหรือสองวัน แต่อาการท้องร่วงจะเป็นมากขึ้นและเป็นอยู่หลายวัน การให้ยาฆ่าเชื้อในคนไข้พวกนี้ ก็มักจะไม่ทำให้ดีขึ้น อาการท้องร่วงจะค่อยๆ หายไปตามธรรมชาติของโรคเอง แต่อย่างไรก็ตาม อาการท้องร่วงจากเชื้อแต่ละชนิด บางครั้งก็แยกออกจากกันได้ยาก หมอมักจะต้องเอาอุจจาระไปตรวจ จึงจะรู้

เมื่อพบว่าทารกหรือเด็กเล็กมีอาการท้องร่วง จะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไรบ้างครับ

หมอถือว่า เป็นหน้าที่ของชาวบ้านทุกคนที่จะต้องดูแลรักษาตนเอง เมื่อเริ่มมีอาการท้องร่วงเกิดขึ้น ดังกล่าวตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท้องร่วงเกิดจากการย่อยและการดูดซึมน้ำและอาหารผิดปกติไป นอกจากนั้นยังมีการหลั่งเกลือและน้ำเข้าไปในโพรงลำไส้ ดังนั้นวิธีจะทำให้อาการถ่ายท้องหยุดได้ ก็คือ ไม่ต้องกินอาหารอะไรที่กระเพาะลำไส้จะต้องย่อยต่ออีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วหาอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ได้เลยไม่ต้องย่อยก่อน เช่น หาน้ำต้มสุกขนาดขวดน้ำปลา (ขวดใหญ่) หรือขวดแม่โขงชนิดกลมซึ่งต้มเกลือแกงประมาณครึ่งช้อนชา (1-2 หยิบมือ) น้ำตาลทรายสะอาดประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ (1-2 กำมือ) ใส่ขวดเขย่าให้เกลือและน้ำตาลทรายละลายเข้ากันดี แบ่งมาดื่มทีละน้อย จนกว่าอาการกระหายน้ำจะหายไป ถ้าเกลือแกงหรือน้ำตาลทรายไม่ค่อยสะอาด ก็ให้นำไปต้มและกรองด้วยผ้าสะอาดเสียก่อน หรือไม่เราก็อาจใช้น้ำอัดลมยี่ห้อไหนก็ได้ เติมเกลือลงไปสักเล็กน้อย (โดยใช้หลอดจุ่มลงในเกลือป่น แล้วจึงใส่ลงในขวด) ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน หลังจากปฏิบัติอย่างนี้แล้วอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียนจะลดลง อาการขาดน้ำก็จะไม่เกิดขึ้นแต่บางรายที่เป็นรุนแรง ก็อาจจะเกิดอาการขาดน้ำได้ ถ้าได้ลองทำเช่นนี้ประมาณ 12-24 ชั่วโมง แล้วยังรู้สึกว่าอ่อนเพลียมาก เกิดอาการไข้ตัวร้อนหรือมีอาการขาดน้ำ ซึ่งจะพบว่ามีปากแห้ง ตาลึก ถ้าเป็นเด็กเล็กก็จะเห็นว่ากระหม่อมด้านหน้าบุ๋มลงไป ถ่ายปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ถ่ายเลย ลุกนั่งเป็นลม ซึมมาก ความดันโลหิตต่ำชีพจรเบาและเร็ว ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อให้น้ำเกลือต่อไป
สำหรับชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกที่จะมาหาหมอ ควรจะแนะนำให้ใช้ยาอะไรดีครับ

ยาที่รักษาท้องร่วงในเด็กเล็กนั้น เป็นที่น่าสนใจว่า ส่วนใหญ่จะช่วยไมได้มากนัก เพราะว่าเชื้อหลายอย่างที่เราไม่ได้ให้ยา ก็สามารถหายเองได้ ถ้าเผื่อเราสามารถให้การดูแลดังกล่าวให้ผ่านพ้น ระยะที่เป็นอันตรายที่เกิดจากอาการขาดน้ำไปได้ ไข้ก็จะลดลงเอง และอาการอักเสบต่างๆ ก็จะค่อยๆ หายไป อาจใช้เวลา 3-5 วัน
สำหรับยาต้านจุลชีพที่จะใช้ฆ่าเชื้อโรคนั้น องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อยู่เพียง 2 โรคเท่านั้น คือ โรคท้องร่วงที่เกิดจากเชื้อบิดชิเกลล่า (หรือบิดไม่มีตัว) ถ้าให้ยา แอมฟิซิลลิน หรือ ฟูราติน ชนิดน้ำเชื่อม 1/2-2 ช้อนทุก 6 ชั่วโมง ก็จะทำให้หายเร็วขึ้นได้ อีกโรคหนึ่งคือ อหิวาต์ ถ้าให้ยาเตตร้าซัยคลีน 1-2 เม็ดทุกทุก 6 ชั่วโมง จะทำให้เชื้อหมดไปจากตัวคนไข้เร็วและจะหายป่วยเร็วด้วย ส่วนเชื้อนอกนี้มักจะใช้ยาไม่ค่อยได้ผล
สรุปแล้วคุณหมอหมายความว่า การรักษาอาการท้องร่วงในทารกและเด็กเล็ก ที่สำคัญคือ ให้งดอาหาร แต่ชาวบ้านเรามักจะกลัวว่าเด็กจะหิว โดยเฉพาะทารกหรือเด็กที่ต้องกินนมอยู่ ควรจะทำอย่างไรครับ

อาหารที่เราพูดกันนี้ ชาวบ้านเราส่วนมากจะคิดกันไปว่า ควรเป็นนมหรือข้าว แต่ความจริงแล้วน้ำตาลกับเกลือที่หมอแนะนำให้เด็กดื่มกินดังกล่าว ก็เป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายที่จะต้องได้รับขณะเจ็บป่วยอย่างมากทีเดียว สามารถที่จะไปทดแทนอาหารและเกลือที่เสียไปกับอุจจาระ ป้องกันมิให้เด็กอ่อนเพลีย แต่เท่าที่ประสบมาพ่อแม่มักจะกังวลเพราะกลัวลูกจะหิว ในกรณีอย่างนี้ก็อาจให้กินน้ำตาลใส่เกลือจนอิ่ม แล้วให้กินนมอีกสักเล็กน้อย เมื่ออาการค่อยดีขึ้น ก็ให้น้ำตาลใส่เกลือน้อยลง และเพิ่มน้ำนมแม่มากขึ้นตามลำดับ สำหรับเด็กที่กินนมผงกระป๋อง ก็อาจจะให้กินนมที่ผสมให้จางลง โดยลดนมผงลงครึ่งหนึ่ง แต่ใช้น้ำเท่าเดิม ให้ดื่มสลับไปกับน้ำตาลใส่เกลือ
การดูแลรักษาแบบนี้ พ่อแม่เด็กจึงควรต้องใจแข็ง และใจเย็น ประคับประคองลูกมิให้เกิดอาการขาดน้ำไปได้สัก 3-5 วัน โรคท้องร่วงก็จะค่อยๆ หายไปเอง
ถ้าลูกหลานมีอาการท้องร่วง วิธีรักษาง่ายๆ คือ
-ให้อดนมและข้าว สัก 12-24 ชั่วโมง
- ผสมน้ำสักหนึ่งขวดแม่โขงกับเกลือ 1-2 หยิบมือและน้ำตาลทราย 1-2 กำมือ กินแทนอาหาร

 ข้อมูลจาก : http://www.doctor.or.th/article/detail/5071

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ลำดับขั้นของพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน



พัฒนาการของเด็ก แบ่งได้หลายแบบ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ

1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) และ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)

2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor    Development) และพัฒนาการด้านภาษา (Language Development)

3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)

4. พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) และ พัฒนาการด้านคุณธรรม (Moral Development)

เด็กปกติทั่วไปจะมีลำดับขั้นของพัฒนาการใกล้เคียงกัน ถ้าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเกิน 6 เดือนขึ้นไป ถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างที่ต้องรีบช่วยเหลือ และกระตุ้นพัฒนาการอย่างเร็วที่สุด
พัฒนาการปกติในแต่ละช่วงวัยเป็นดังนี้

พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
งอแขนขา, เคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ด้าน
หันหน้าซ้ายขวา
ชันคอ
ยกแขนดันตัวชูขึ้นในท่าคว่ำ
คว่ำหงายได้เอง
นั่งได้มั่นคง, คลาน, เกาะยืน
เกาะเดิน
เดินเองได้
วิ่ง, ยืนก้มเก็บของ
เตะลูกบอล, กระโดด 2 เท้า
ขึ้นบันไดสลับเท้า, ถีบรถ 3 ล้อ
ลงบันไดสลับเท้า, กระโดดขาเดียว
กระโดดสลับเท้า, เดินต่อเท้า
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
ปฏิกิริยาสะท้อนที่ฝ่ามือ
กำมือแน่น
กำมือหลวม, มองตาม
คว้าของใกล้ตัว
หยิบของมือเดียว, เปลี่ยนมือได้
ใช้นิ้วหยิบของเล็กๆ
หยิบของใส่ถ้วย/ใส่กล่อง
วางก้อนไม้ซ้อน 2 ชั้น
วางก้อนไม้ซ้อน 3 ชั้น
วางก้อนไม้ซ้อน 6 ชั้น
วาดวงกลมตามแบบ
วาดสี่เหลี่ยมตามแบบ
วาดสามเหลี่ยมตามแบบ
พัฒนาการด้านภาษา (Language Development)
* การรับรู้ภาษา (Receptive Language Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
แยกเสียงแม่จากผู้หญิงคนอื่นได้
-
ฟังเสียงคนคุยด้วย
พยายามหันหาเสียง
หันหาเสียงเรียกชื่อ
เข้าใจสีหน้า, ท่าทาง
ทำตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้
ชี้ส่วนต่างๆบนใบหน้าตามคำบอก
-
ชี้รูปภาพตามคำบอก
รู้จัก 3 สี
รู้จัก 4 สี
-  
* การสื่อภาษา (Expressive Language Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
ร้องไห้
ทำเสียงในคอ
ยิ้มตอบ
อ้อแอ้, หัวเราะโต้ตอบ
เล่นน้ำลาย, ส่งเสียงหลายเสียงนอกจาก อ
ปาปา, มามา
พูดคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ
พูดคำโดดที่มีความหมาย 2-3 คำ
พูดคำโดดหลายคำ (เฉลี่ย 50 คำ)
พูด 2-3 คำต่อกันมีความหมาย, บอกชื่อ
เล่าเรื่องเข้าใจครึ่งหนึ่ง
เล่าเรื่องเข้าใจทั้งหมด, ออกเสียงถูกต้อง
นับเลขได้ถึง 20

พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)
แรกเกิด
1 เดือน
2 เดือน
4 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
15 เดือน
18 เดือน
2 ปี
3 ปี
4 ปี
5 ปี
มองหน้าช่วงสั้น
มองจ้องหน้า
ยิ้มตอบ, สบตา
ยิ้มทัก, ท่าทางดีใจเมื่อเห็นอาหาร/คนเลี้ยงดู
กลัวคนแปลกหน้า
ร้องตามแม่, เล่นจ๊ะเอ๋, หยิบอาหารกิน
ตบมือ, โบกมือ, สวัสดี
ถือถ้วยน้ำดื่มเอง
จับช้อนตักอาหาร
บอกได้เวลาขับถ่าย, เลียนแบบผู้ใหญ่
รู้เพศตนเอง, ถอดรองเท้า, ใส่เสื้อ
เล่นรวมกลุ่มได้, ติดกระดุมลำดับขั้นของการพัฒนากา
เล่นอย่างมีกติกา, เล่นสมมติ, รู้อายุ, แต่งตัวเอง  


เครดิต : http://www.happyhomeclinic.com/sp02-development.htm

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

10 อันดับกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับลูกน้อย

          พ่อแม่มือใหม่รู้เสมอว่ากิจกรรมการเล่นมีผลต่อพัฒนาของลุกน้อย แต่ส่วนใหญ่ก็ประสบปัญหาว่า ไม่รู้จะเล่นกับลูกอย่างไร โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจ ที่ทุกคนในครอบครัว มีเวลาให้กันและกันน้อยลงไปทุกที ยิ่งทำให้พ่อแม่ มือใหม่ได้แต่แสดงความรักให้ลูกน้อยด้วยการซื้อของแพงๆ ให้ โดยไม่นึกว่าอาจจะเป็นผลลบต่อลุกที่รักก็ได้ เราลองมาดูกันว่า
ผลการสำรวจความเห็นจากพ่อแม่ของเด็กวัยตั้งแต่ 0-4 ปี ในสหรัฐอเมริกา อะไรคือ 10 กิจกรรมสร้างสรรค์ ที่พ่อแม่เชื่อว่า สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กในเยาว์วัย เรามาเริ่มจากอันดับที่สิบกันก่อน น๊ะจ๊ะ



                                  อันดับที่ 10 การวาดภาพ (Painting)

ศิลปะ นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยสร้างจิตนาการไม่เฉพาะกับเด็ก แต่รวมไปถึงผู้ใหญ่ การให้ลูกน้อย ได้มีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปะ หรือวาดภาพ ถึงแม้จะเป็นภาพที่ไม่มีความหมายอะไร แต่การวาดภาพ ก็ช่วยให้ลูกน้อยได้ใช้กล้ามเนื้อนิ้มมือในการจับพู่กัน หรือปากกา กล้ามเนื้อมือและแขนในการขยับปากกาไปตามแนวฝึกทักษะขอแงความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ





อันดับที่ 9 การปีนป่าย (Climbing )
ไม่ว่าจะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง คงไม่มีใครจะปฎิเสธว่าเด็กทุกคน ชอบที่จะปีนป่ายไปตามสิ่งกีดขวางต่างๆ เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทายให้สำรวจการปีนป่าย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกายอีกด้วย




                                                                  อันดับที่ 8 การเล่นกับลูกบอล (Playing ball )

ผู้ใหญ่อาจมองการเล่นกับลูกบอลในลักษณะที่เป็นกีฬา แต่สำหรับเด็กนั้น ลุกบอลเป็นเครื่องเล่นที่สามารถสร้างจินตนาการและพัฒนาลักษณะต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพียงการใช้มือกลิ้งบอล หรือการเตะบอลไปมา การโยนลูกบอลบนอากาศและรับ ไปจนถึงการกลิ้งตัวบนลูกบอลในลักษณะต่างๆ ลูกบอลอาจจะถือได้ว่า เป็นเครื่องเล่นพื้นฐานที่สุด ซึ่งสามารถพัฒนาได้ทั้งกล้ามเนื้อในส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก ไปจนถึงการฝึกทักษะการสร้าง ความสัมพันธ์ของตาและมือ และการฝึกการสร้างสมดุลของร่างกายด้วย


อันดับที่ 7 การเล่นดนตรี และการเล่นคอมพิวเตอร์ (Playing music and computer )
เป็นอันดับที่มีกิจกรรมสองกิจกรรมได้คะแนนเสมอกัน ในสิ่งที่ถือว่า แตกต่างกันพอสมควร เนื่องจากดนตรี นับเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญมากของการพัฒนาลูกน้อยคล้ายกับการวาดภาพ การเล่นดนตรีช่วยสร้างทักษะในการ ฟังเสียงของเด็ก การฝึกทักษะของกล้ามเนื้อนิ้มมือ และแขน

อันดับที่ 6 การร้องเพลง(singing)
การเล่นคอมพิวเตอร์ดูจะเป็นกิจกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก มีกังวล เนื่องจากเห็นว่า อาจจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างทักษะหรือพัฒนาการให้เด็กน้อยได้มากเท่าที่ควร แต่คงจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกแห่งสาระสนเทศในปัจจุบัน พ่อแม่ต้องการให้ลูกได้มีโอกาสเริ่มสัมผัสกับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งมีโปรแกรม ต่างๆ คอยตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ได้เป็นอย่างดี

อันดับที่ 5 การฟังเพลงและการเล่นในสนามเด็กเล่น (Listening to music and playground)
หลายทฤษฏีในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการให้เด็กเล็กได้ฟังเพลงที่มีคุณภาพเช่น เพลงคลาสสิค จากความเชื่อที่ว่าจะสามารถช่วยพัฒนาสมองและจินตนาการได้เป็นอย่างดี พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญเรื่อง การฟังเพลงมาก คงจะไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ไม่เคยร้องเพลงให้ลุกน้อยฟัง การร้องเพลงช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็กได้อย่างดี และยังเป็นเครื่องมือในการสร้างจิตนาการ และสุนทรียภาพให้กับลูกน้อยอีกด้วย การร้องเพลงพร้อมกิจกรรม ประกอบ ท่าทาง ยังช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อต่างๆ การสร้างจิตนาการ และการประสานท่าทางกับคำร้อง


อันดับที่ 4 การเล่นจินตนาการและการระบายสีบนภาพ (Playing make-believe,coloring)
การระบายสีบนภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับคะแนนสูง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างจินตนาการได้ ดีที่สุดกิจกรรมหนึ่ง และยังช่วยฝึกความเข้าใจในสีต่างๆ และพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อต่างๆ คล้ายกับการวาดภาพ พ่อแม่ส่วนใหญ่ให้คะแนนการเล่นของเล่นสูง คงจะเป็นเพราะของเล่นในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาจากของเล่นที่ เพียงแต่สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน ให้เป็นของเล่นที่พัฒนาทางความคิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อใน การจับชิ้น ส่วนต่างๆ การฝึกจับคู่วัสดุลงในช่องที่มีรูปลักษณะเหมือนกัน การต่อของเล่นให้เป็นรูปร่างต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการพัฒนาและฝึกทักษะหลายๆ อย่าง ในเวลาเดียวกันได้เป็นอย่างดี การวาดลายเส้นนอกจากจะช่วยสร้างจินตนาการแล้วยังช่วยสร้างทักษะในการใช้ดินสอ หรือปากกาด้วย ทั้งยังส่งผลให้ลูกน้อยเข้าใจรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรง วงกลม สี่เหลี่ยม ฯลฯ ที่จะมาประกอบกันเป็นรูปภาพ จะช่วย ให้เด็กมีการพัฒนาที่ดีทางด้านทักษะที่จะนำไปสู่การเขียนหนังสือและการวาดภาพ


อันดับที่ 3 การเล่นของเล่น(Playing with toy )
ในขณะเดียวกัน การให้ลูกน้อยได้มีโอกาสเล่นในสนามเด็กเล่น ได้รับคะแนนสูงในระดับเดียวกัน เพราะการเล่นในสนามเด็กเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้พัฒนากล้ามเนื้ออย่างเต็มที่ และนอกจากนี้ยังได้พัฒนาศักยภาพทางสังคม จากการได้พบกับเพื่อนใหม่ๆ ในวัยเดียวกัน และวัยที่ต่างกัน



อันดับที่ 2 การวาดลายเส้น(Drawing )
การเล่นจินตนาการ หรือ การเล่นสมมติจำลองให้ตุ๊กตาหรือคนทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัว เป็นการฝึกจินตนาการได้ดี และยังเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะด้านภาษาอีกด้วย เช่น การจัดงานวันเกิดให้ตุ๊กตาหมี สามารถฝึกให้ลูกน้อยเข้าใจ ศัพท์ต่างๆ ที่จะต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นเค้ก จาน แก้วน้ำ ฯลฯ รวมไปถึงการร้องเพลงด้วย


อันดับที่ 1 การอ่าน(Reading )
กว่าสามในสี่ของพ่อแม่ที่ร่วมทำการสำรวจบอกว่า อ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง การอ่านนอกจากเป็นการสร้างจินตนาการ การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เพราะลูกจะรู้สึกถึงความอบอุ่นจากพ่อแม่ได้อย่างใกล้ชิดที่สุด


ได้รู้จักกับสิบอันดับกิจกรรมสร้างสรรค์ที่พ่อแม่ชาวอเมริกันนิยมนำมาใช้เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะ
และพัฒนาการขั้นพื้นฐานให้กับลูกๆ กันแล้ว ลองนำไปใช้กับลูกน้อยของท่านบ้างนะค่ะ


ที่มา nonthaburi.moph.go.th

เรียบเรียงโดย www.พัฒนาการเด็ก.com

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รู้ทันพัฒนาการที่ไม่ถูกต้องในแต่ละวัย



ในเด็กบางคนอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สังเกตให้ดี ก็จะไม่ทราบ หรือคิดไปเองว่าเดี๋ยวคงจะพัฒนาได้เองในภายหลัง ซึ่งความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดและอันตรายต่อตัวลูกน้อยเป็นอย่างมาก เพราะพัฒนาการของลูกในช่วงเริ่มต้นจะเชื่อมโยงกันและกัน หากมีพัฒนาการอย่างหนึ่งช้าหรือไม่สมวัยก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นต่อไปเป็นทอดๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจถึงพัฒนาการที่สมวัยและไม่สมวัยควบคู่กันไป


ตารางเช็กพัฒนาการลูกน้อยให้สมวัย
ช่วงวัยพัฒนาการลูกน้อยสมวัยพัฒนาการลูกน้อยไม่สมวัย
ลูกน้อยวัยแรกเกิด- ขยับแขนขาได้บ้าง
- สะดุ้งตกใจหรือร้องไห้ เมื่อได้ยินเสียงดัง
- ส่งเสียงร้องเมื่อหิว และไม่สบายตัว
- กรอกตาตามวัถตุที่อยู่ใกล้ๆ
- ไม่สะดุ้ง ไม่ร้องไห้ เมื่อเกิดเสียงดัง
- ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
ลูกน้อยวัย 1 เดือน- ชันคอ ผงกหัว
- ส่งเสียอ้อแอ้ในลำคอ
- กำมือแน่นเมื่อมีวัตถุในฝ่ามือ
- เริ่มมองตามที่มาของเสียงและวัตถุที่เคลื่อนไหวอยู่ใกล้ๆ
- ไม่ส่งเสียงครางอ้อแอ้
- ทำตาเขบ่อยๆ
- ตาทั้ง 2 ข้างมองไม่ตรงจุดเดียวกัน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน- ชันคอในท่าคว่ำได้
- หันหาที่มาของเสียง
- มองตามวัตถุที่เคลื่อนที่
- ส่งเสียงตอบในลำคอ และยิ้ม
- ไม่มีการตอบสนองเมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าไปเล่นด้วย
- ไม่มองตามของเล่นที่มีเสียงและมีสีที่สดใส
- หยิบจับสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาไม่ได้
ลูกน้อยวัย 4 เดือน- ใช้มือยันค้ำตัวให้นั่งได้
- ยิ้มทักทาย และยิ้มแสดงความดีใจได้มากขึ้น
- เริ่มคว้าของใกล้ตัว
- ใช้มือได้ข้างเดียว
- จับนั่งแล้วมีอาการขาอ่อนปวกเปียก
- กล้ามเนื้อแข็ง เกร็ง เมื่อเดิน
ลูกน้อยวัย 6 เดือน- พลิกตัวคว่ำและหงายได้เอง
- หยิบจับสิ่งของที่มีน้ำหนักได้แล้ว
- เปลี่ยนของไปอีกมือได้
- ใช้นิ้วมือหยิบจับได้
- เข้าใจภาษา และพูดพยางค์เดียวได้แล้ว
- พูดคำซ้ำๆ วนไปวนมาหลายๆ ครั้ง
- มองไปทางอื่นเวลาพูดคุย
- หยิบของเข้าปากจะร่วงหล่นเสมอ
- ยังพลิกตัวเองไม่ได้
- ไม่หัวเราะ
ลูกน้อยวัย 9 เดือน- เกาะ ยืน เดินได้เอง
- เล่นและแสดงอารมณ์ได้มากขึ้น
- ไม่แสดงอารมณ์ แม้ในขณะดีใจ
- ชอบชี้ให้มองในสิ่งที่อยู่ไกลๆ
- ไม่ชอบมองหน้าพ่อแม่
ลูกน้อยวัย 1 ขวบ- เริ่มอยากออกสำรวจ
- เข้าใจและร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า
- รู้จักส่ายหัวเพื่อปฏิเสธ
- เลียนเสียงและท่าทางของสัตว์
- เก็บตัว ชอบเล่นคนเดียวหรืออยู่คนเดียว
- ทำท่าทางแปลกๆ ซ้ำๆ เช่น เดินเขย่ง
- ยังคลานไม่ได้
- ไม่ยอมเดินเมื่อจับให้เดิน
- ยังเรียกพ่อแม่ไม่ได้


หากคุณพ่อคุณแม่เฝ้าสังเกตพัฒนาการของลูกน้อยจนแน่ใจแล้วว่าไม่ถูกต้องสมวัย อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการส่งเสริมพัฒนาการให้ถูกต้อง และรับรู้วิธีแก้ไขให้ดีขึ้นและสมวัยต่อไป 

เครดิต จาก http://www.care.co.th/smartmom?gclid=CPeB9JbEgLQCFU966wodfhEA5A

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แค่ไหน เรียกว่าพัฒนาการช้า


แค่ไหน เรียกว่าพัฒนาการช้า


โดย: ดัชนี

ความก้าวหน้าของลูกเป็นความปลื้มปีติของพ่อแม่ แต่หากลูกไม่สามารถทำได้อย่างลูกคนอื่นเขา พ่อแม่ควรกังวลหรือไม่ 

ทุกครั้งที่เห็นเด็กวัยเดียวกับยายหนูของเรา อดไม่ได้ที่จะลอบสังเกตแล้วเปรียบเทียบกับลูกตัวเอง อย่างน้องโตโต้ข้างบ้านเนี่ยเกิดเดือนเดียวกับลูก ตอนนี้เขาทำท่าจะก้าวเดินแล้วด้วยซ้ำ คุณแม่น้องโตโต้บ่นว่าดูกันไม่ไหว เผลอทีไรเป็นได้ลุกขึ้นเกาะเดินไปทั่ว ไม่รู้ว่าเธอแกล้งบ่นอวดความก้าวหน้าของลูกหรือเปล่า..รู้สึกตาร้อนขึ้นมาตะหงิดๆ ดูยายหนูสิ ยังคลานกระต้วมกระเตี้ยมอยู่เลย แถมยังไม่ค่อยแอกทีฟเสียอีก จับวางตรงไหนก็นั่งจุมปุ๊กเล่นอยู่ตรงนั้นได้นานสองนาน ลูกเราผิดปกติหรือเปล่านะ?!..

นี่เป็นตัวอย่างความรู้สึกของคนเป็นพ่อแม่ที่คอยห่วงใยพัฒนาการของลูก อดไม่ได้ที่เอาลูกตัวเองไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น ที่จริงเรื่องของพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการเด็กบอกอยู่บ่อยๆว่า เรื่องพัฒนาการเติบโตของเด็กแต่ละคนไม่ใช่เรื่องของการแข่งขัน เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ตรวจสอบพัฒนาการก็เป็นเพียงเกณฑ์คร่าวๆ เด็กแต่ละคนเกิดมาย่อมมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายหลาก จะช้าหรือเร็วกว่ากันบ้างไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด


แค่ไหนที่เรียกว่า"ช้า" 

พ่อแม่ส่วนใหญ่จะเพ่งเล็งไปที่ความก้าวหน้าทางพัฒนาการที่เห็นได้ชัด อย่างเช่น เมื่อไหร่ลูกจะนั่ง จะคลาน ยืน เดินได้ แต่คุณหมอทางด้านพัฒนาการทั้งหลายจะไม่ดูแค่นี้ คุณหมอจะให้ความสำคัญกับการรับรู้ของเด็กมากเสียยิ่งกว่าพัฒนาการทางร่างกาย คุณหมอจะดูว่าหนูจะยิ้มให้ผู้คนไหม มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวไหม หรือสนใจจดจำเสียงต่างๆได้บ้างไหม.. นี่แสดงว่าหนูรับรู้สิ่งแวดล้อมที่มากระทบ สามารถเชื่อมโยงสิ่งหรือเหตุการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองได้

แต่คุณพ่อคุณแม่กลับไปกังวลเมื่อเห็นลูกทำอะไรไม่ได้เหมือนคนอื่นเขา ไม่ก้าวหน้าอย่างที่ตารางพัฒนาการบอกไว้ ที่จริงเป็นเรื่องแสนจะธรรมดาที่เด็กบางคนก้าวหน้าอย่างมากในบางเรื่องหรือล่าช้าในบางเรื่อง ไม่ได้เป็นสิ่งแสดงว่าหนูจะเป็นอัจฉริยะหรือฉลาดน้อยแต่อย่างใด

ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ยิ่งเด็กก้าวหน้าอย่างมากในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษอาจจะทำให้การเรียนรู้เรื่องอื่นลดน้อยลงไปด้วยซ้ำ อย่างเช่น เด็กที่คลานเก่งๆ อาจจะเดินช้าเพราะเขาสามารถคลานไปไหนๆได้คล่องดังใจโดยไม่ต้องใช้ความพยายามที่จะเดิน เด็กบางคนที่ไม่ยอมคลานสักทีแต่เผลอแผล็บเดียวเดินเลยก็มี

เรื่องของพัฒนาการกว้างกว่าที่พ่อแม่ส่วนใหญ่รู้จักและเข้าใจ และช่วงเวลาในการก้าวข้ามพัฒนาการแต่ละอย่างเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปในช่วงเวลาที่แตกต่างกันถึง 6 เดือนก็เป็นได้ อย่างเช่น พัฒนาการทางภาษา เด็กสามารถเลียนเสียงพูดได้ อาจใช้เวลาตั้งแต่ 5-11 เดือน หรือสามารถเกาะยืนได้ในช่วง 6 เดือน-12 1/2เดือน

พ่อแม่ควรกังวลก็เมื่อลูกมีพัฒนาการช้ามากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6 เดือน เมื่อนั้นแหละควรไปปรึกษากุมารแพทย์ แต่เตือนตัวเองไว้ด้วยว่า การล่าช้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้หมายความว่าควรสรุปว่าลูกเป็นเด็กพัฒนาการช้า



"ช้า"เพราะปัจจัยหลายหลาก มีคุณพ่อคุณแม่คู่หนึ่งกังวลว่าลูกน้อยวัยเตาะแตะอายุเกือบสองขวบแล้วไม่ยอมเดินสักที ทั้งๆที่พัฒนาการด้านอื่นๆก็ดีหมด คุณหมอตรวจแล้วพบว่าหนูน้อยมีปัญหาทางด้านสายตา เธอสายตาสั้นมาก เป็นการจำกัดการมองเห็นโลกรอบตัวเท่ากับขาดการกระตุ้นให้เธอออกเดินไปสำรวจโลกที่กว้างออกไป คุณหมอจัดการตัดแว่นให้เธอใส่ แล้วอีก 2-3 สัปดาห์ ต่อมาเธอก็เดินได้

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าเมื่อรู้สาเหตุที่ทำให้พัฒนาการลูกล่าช้าแล้ว ก็สามารถแก้ไขให้ลูกเป็นปกติได้ และเป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นสาเหตุซ่อนเร้นที่พ่อแม่อาจจะดูไม่รู้ด้วยตัวเอง แต่โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็กที่ทำให้เด็กแต่ละคนมีก้าวขั้นพัฒนาการที่แตกต่างกันนั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร เป็นสาเหตุใหญ่ๆที่พ่อแม่ควรคำนึงถึงดังนี้ค่ะ

ลูกสาวหรือลูกชาย ลูกเกิดมาเป็นหญิงหรือชายกำหนดพัฒนาการลูกให้แตกต่างตามเพศของลูกด้วย โดยทั่วไปลูกชายมักจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายเร็วกว่าลูกสาว อาจจะตัวโตกว่า คลาน ยืน เดินได้เร็วกว่า ในขณะเดียวกันลูกสาวก็จะมีทักษะทางภาษา พูดได้เร็วกว่าลูกชาย

พ่อแม่เป็นอย่างไร ลูกเป็นอย่างนั้นเรื่องกรรมพันธุ์ก็มีส่วนอย่างมากที่จะกำหนดรูปร่างลักษณะของลูก อย่างเช่นตัวโตแค่ไหน ฟันขึ้นเร็วหรือเปล่า ผมดกหรือผมบาง ลักษณะเหล่านี้แหละที่พ่อแม่มักจะเผลอนำไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น โดยลืมไปว่าลูกเราย่อมถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ไป พ่อแม่ตัวเล็กลูกก็ย่อมตัวเล็กเป็นธรรมดา ตรงนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกแตกต่างจากคนอื่นซึ่งพ่อแม่น่าจะ คิดถึงเป็นอย่างแรกๆ



สภาพร่างกาย ชีวสภาพหรือลักษณะทางกายของลูกก็มีผลต่อพัฒนาการของลูก เด็กที่อ้วนตุ้มต๊ะตุ้มตุ้ยมักจะไม่ค่อยคล่องแคล่วว่องไว เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก เป็นอุปสรรคทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้าได้ อาจจะคลาน ยืน เดิน ช้ากว่าเด็กอื่น หรือเด็กที่ขี้โรค เจ็บป่วยบ่อยๆ ก็ทำให้พัฒนาการล่าช้าได้เหมือนกัน บางครั้งอาจทำให้พัฒนาการถดถอยด้วยซ้ำ

ลักษณะนิสัยและสภาวะอารมณ์หนูน้อยแต่ละคนเกิดมาพร้อมมีลักษณะเฉพาะตัวติดตัวมาด้วย เด็กบางคนเกิดมาเป็นเด็กแอ็กทีฟ กระตือรือร้น บางคนก็สงบนิ่ง เด็กที่แอ็กทีฟกระตือร้นก็มักจะเคลื่อนไหวได้เร็วกว่า ในขณะที่เด็กที่ชอบเล่นคนเดียวเงียบๆอาจจะมีทักษะในการใช้มือก้าวหน้ากว่าเด็กที่ชอบเคลื่อนไหว มีสมาธิและเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากกว่า

อีกอย่างหนึ่งคือสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กไม่มีความสุข ทำให้เด็กหงุดหงิด งอแง ง่าย ก็เป็นอุปสรรคสะกัดกั้นพัฒนาการของเด็กให้ช้ากว่าเด็กทั่วไปได้ เด็กขาดแรงจูงใจให้เรียนรู้ที่จะทำ จะฝึกทักษะต่างๆ
พ่อแม่เข้าใจเรื่องพัฒนาการแค่ไหนความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการของพ่อแม่มีผลต่อพัฒนาการของลูก พ่อแม่ที่มีความรู้ในเรื่องพัฒนาการ รู้ว่าลูกวัยใดมีขั้นตอนการเติบโตทางพัฒนาการอย่างไร รู้จักวิธีกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการของลูกก็จะได้เปรียบอย่างยิ่ง เพราะจะสามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการก้าวหน้า และแก้ไขพัฒนาการด้านที่อ่อนด้อยของลูกให้ดีขึ้นได้ อย่างเช่นคุณแม่รู้ว่าการพูดคุยกับลูกบ่อยๆจะทำให้ลูกมีทักษะทางภาษา ก็จะพยายามพูดคุยกับลูกบ่อยๆแม้ว่าลูกยังเล็กแบเบาะอยู่ก็ตาม หรือถ้าเห็นลูกยังไม่ยอมคลานสักที ก็พยายามช่วยลูกด้วยการเอาของเล่นมาล่อให้ลูกพยายามเคลื่อนไหวไขว่คว้า ให้เวลาเล่นกับลูกมากขึ้น
เลี้ยงดูอย่างไร 
พ่อแม่ที่รักลูกดูแลลูกดีเกินไปก็อาจทำให้ลูกมีพัฒนาการล่าช้าได้เหมือนกัน อย่างเช่นพ่อแม่ที่คอยประคบประหงมปกป้องลูกมากเกินไป ไม่ยอมให้ลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง เรียนรู้ความผิดพลาด หกล้มหกลุกด้วยตัวเองบ้าง เหมือนที่คนโบราณบอกว่าเมื่อไรที่ลูกเริ่มหัดพลิกตัว พ่อแม่อย่าช่วยพลิกให้ลูก ไม่เช่นนั้นจะต้องช่วยลูกตลอดไปทั้งชีวิต นับว่าคนโบราณพูดไม่ผิด เลยเตือนใจพ่อแม่รุ่นต่อไปไม่ให้รักลูกจนไม่ยอมให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง 

ในทางตรงข้ามเด็กที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลย ไม่ใส่ใจพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์ด้วย เด็กก็จะมีพัฒนาการล่าช้าได้อีกเช่นกันค่ะ 

มีพี่น้องช่วยกระตุ้นพัฒนาการการที่มีลูกหลายคนหรือสองคนขึ้นไปมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลูกมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการ ไม่ว่าจะด้วยเกิดบรรยากาศแข่งขันกลายๆ เช่น กลัวน้องแย่งของเล่นก็เป็นการกระตุ้นให้ลูกรีบลุกขึ้นไปหยิบของเล่น หรือว่าจากการเป็นเพื่อนเล่นกัน น้องได้เลียนแบบพี่ พี่สอนน้องให้เล่นและเรียนรู้เรื่องต่างๆ พี่น้องได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ฝึกทักษะทางภาษาสังคม หรือบ้านที่พี่ป้าน้าอาอยู่ร่วมกันหลายคน ก็ช่วยกระตุ้นให้ลูกเรียนรู้มีพัฒนาการที่เร็วขึ้นได้ โดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านภาษาจะเห็นได้ชัด เด็กที่มีคนเติบโตในบ้านที่มีญาติพี่น้องหลายคน และได้รับความสนใจพูดคุยด้วยบ่อยๆ ก็จะพูดได้เร็ว พูดเก่ง 

รู้อย่างนี้แล้วคงเลิกเปรียบเทียบลูกกับเด็กอื่นได้แล้วนะคะ แต่การเฝ้าดูลูกเติบโตยังเป็นเรื่องดีที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญ เพียงมีหลักคิดวิเคราะห์อย่างที่เสนอไปแล้วข้างต้น และพยายามหาต้นตอของปัญหา 

ขอฝากไว้ว่าต่อไปนี้เมื่อพูดถึงพัฒนาการของลูก ลองมองหาข้อดีของลูกเพื่อส่งเสริมให้ลูกทำได้ดียิ่งๆขึ้น และมองหาจุดอ่อนเพื่อช่วยปรับให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ลูกจะ"ช้า "หรือ"เร็ว" พ่อแม่เท่านั้นค่ะที่จะช่วยลูกได้ 

หากไม่แน่ใจอย่างไรปรึกษากุมารแพทย์ที่คุณพาลูกไปตรวจร่างกาย หรือจะเจาะจงไปหาคุณหมอทางด้านพัฒนาการเด็กโดยเฉพาะก็ได้ โรงพยาบาลรัฐใหญ่ๆทุกแห่งมีคุณหมอผู้ เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กประจำอยู่ค่ะ 


ขอขอบคุณ 
นิตยสารModern mom
Mommypedia

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

5 วิธีฝึกลูก หลับนานตลอดคืน


เมื่อมารับบทเป็นคุณพ่อคุณแม่ลูกอ่อน การตื่นนอนกลางดึกถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนอ่อนเพลียในช่วงกลางวัน เนื่องจากนอนไม่พอ แล้วก็ได้แต่คิดว่า...เมื่อไหร่น้อลูกถึงจะนอนหลับยาวๆ...จะว่าไปแล้ว เรื่องการนอนหลับยาวช่วงกลางคืนในเด็ก นับว่ามีความสำคัญ คือ ถ้าเด็กนอนหลับได้ยาวและหลับสนิท ร่างกายก็สามารถหลั่ง Growth Hormone ได้เต็มที่ ร่างกายลูกก็จะเจริญเติบโตได้อย่างดีนั่นเอง

แบบแผนการนอนของลูก
ขณะที่อยากให้ลูกนอนหลับยาวนั้น คุณแม่ก็ต้องรู้จักแบบแผนการนอนของลูกให้ดีก่อน

ช่วงแรกเกิด
ลูกน้อยมักตื่นทุก 2-3 ชั่วโมง

3-6 เดือน
นอนหลับได้ยาวมากขึ้น แต่ก็อาจจะตื่นขึ้นมากินนมมื้อดึกช่วง 23.00-24.00 น. และ 03.00-04.00 น.และไม่ค่อยร้องให้ช่วงกลางดึกเท่าไหร่นัก

6 เดือนเป็นต้นไป 
ลูกสามารถนอนหลับได้ตลอดคืนแต่บางคนอาจจะ อยากดื่มนมกลางดึกสักหน่อย

9-12 เดือน 
ลูกอาจจะร้องกินนมมื้อดึกแต่อาจจะร้องไห้กลางดึกได้บ่อยๆ (ช่วงนี้ส่วนใหญ่เด็กจะคลานคล่องเล่นเก่ง ในช่วงกลางวัน)


ฝึกให้ลูกนอนหลับตลอดคืน

1. ให้คุณแม่สังเกตว่าการร้องไห้กลางดึกของลูกเป็นเพราะสาเหตุอะไร เช่น เปียกชื้น (ถึงจะใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปก็เถอะ) แมลงกัด ร้อนไปหน่อย เย็นไปนิด คัดจมูก ตกใจ แต่ถ้าลูกร้องเพราะหิวนมจริงๆก็ต้องให้ลูกกินค่ะ

2. ถ้าร้องเพราะอยากดูดนิดหน่อย (คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตถึงรูปแบบการร้องไห้ของลูก) ลองตบก้นลูกน้อยสักพัก ร้องเพลงกล่อมเบาๆ หรือให้ดูน้ำเปล่า สักพักลูกก็จะหลับต่อ

3. สร้างบรรยากาศในห้องนอนให้ลูกรับรู้ว่า นี่คือเวลานอนในช่วงกลางคืน เช่น ดับไฟ เปิดเพลงกล่อมเบาๆอ่านนิทานเล่มโปรดให้ลูกฟังไม่เล่นกับลูกมากเกินไปและพาลูกเข้านอนให้เป็นเวลา

4. ข้อสำคัญคือ ถ้าลูกตื่นกลางดึก ไม่ควรอุ้มลูกขึ้นมาหยอกล้อ ถ้าจะป้อนนมก็ป้อนด้วยความสงบ อาจจะเปิดไฟหรี่ไว้เล็กน้อย เพื่อกล่อมให้ลูกหลับต่ออย่างง่ายดาย

5. ในช่วง 3 เดือนแรก คุณแม่ยังไม่ควรให้ลูกงดนมมื้อดึกทันทีทันใด และการฝึกลูกนอนยาวตลอดคืนนั้นต้องมีข้อผ่อนปรนบ้าง ตามวัยลูก เช่น เมื่อเข้าเดือนที่ 9 เด็กหัดเกาะยืน คลานคล่อง เล่นเก่ง ช่วงกลางคืนอาจจะหิวนมได้ หรือร้องงอแงได้บ้าง

ขอขอบคุณนิตยสาร Mother & Care Vol.2 No.15 

เรียบเรียงโดย www.พัฒนาการเด็ก.com

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไวรัสโรต้าอาจทำลูกรัก "พัฒนาการ" ชะงัก


ไวรัสโรต้าอาจทำลูกรัก "พัฒนาการ" ชะงัก

          คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมครับว่า การติดเชื้อไวรัสโรต้าที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงนั้น อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและการเรียนรู้ของลูกน้อยด้วย! 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีอาการท้องเสียจากการติดเชื้อซ้ำ ๆ หรือมีอาการท้องเสียเรื้อรัง แต่ไม่ต้องกังวลจนเกินไปนะครับ ผมมีคำแนะนำดี ๆ และวิธีป้องกันมาฝากครับ

ไวรัสโรต้า เชื้อโรคร้ายที่ต้องระวัง 

          เชื้อไวรัสโรต้า เป็นเชื้อที่มีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมงบนมือ หรือหลายวันบนพื้นผิวทั่วไป และฝังตัวอยู่ในอุจจาระมนุษย์เราได้นานเป็นสัปดาห์ การติดเชื้อไวรัสโรต้าอาจจะมาจากการกินอาหารที่ปนเปื้อน การสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ หรือการสัมผัสมือของคนอื่น           คุณแม่ที่มีลูกเล็ก ต้องระวังและคอยเตรียมพร้อมป้องกันเจ้าเชื้อไวรัสโรต้านี้ เพราะเชื้อโรต้าเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงรุนแรงพบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่ 6 เดือน เด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการท้องร่วง อาเจียนซ้ำ และมีไข้ บางรายที่เป็นมากอาจทำให้ลูกน้อยต้องนอนโรงพยาบาลไปหลายวันหรือเสียชีวิตได้ หากเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงและรักษาไม่ทัน และที่สำคัญอาการท้องร่วงไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงจะมีผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูกได้ครับ

ติดเชื้อโรต้าส่งผลกระทบต่อพัฒนาการลูก 

          เมื่อเด็กติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้ว บางคนต้องนอนโรงพยาบาลเพราะเกิดภาวะขาดน้ำ ถ้าเป็นในเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน มีโอกาสเสี่ยงต้องนอนโรงพยาบาล และมีการศึกษาพบว่า เด็กที่ท้องร่วงซ้ำ ๆ จาการติดเชื้ออาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ เพราเมื่อติดเชื้อร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ได้ ทำให้การพัฒนาทางร่างกายและสมองของลูกหยุดชะงัก ผลคือเด็กในวัยก่อน 7 ปี จะเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกันได้ และหากเด็กที่ท้องร่วงซ้ำ ๆ ก่อนวัย 2 ปี จะอาจทำให้มี IQ ต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันได้ เด็กอาจเรียนรู้ช้า

ไวรัสโรต้าป้องกันได้ตั้งแต่ลูก 2 เดือน 

          แน่นอนว่าคงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากเห็นลูกป่วย ไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด รวมไปถึงการติดเชื้อจากไวรัสโรต้าด้วยใช่ไหมครับ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยการให้ดื่มนมแม่ และรักษาความสะอาดและในปัจจุบันมีวัคซีนทางเลือกที่ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ เป็นชนิดกินแบบ 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง โดยวัคซีนที่กิน 2 ครั้ง ให้เมื่อเด็กอายุ 2 และ 4 เดือน ทำให้เด็ก ๆ ได้รับการป้องกันที่เร็วขึ้น สำหรับคุณแม่ที่มีลูกเล็กอายุ 2 เดือน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการป้องกันนะครับ

ข้อความโดย นพ.วรมันต์ ไวดาบกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้อ