วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สัญลักษณ์สื่อภาษา



สัญลักษณ์สื่อภาษา

แม้ว่าเด็กทารกจะยังไม่สื่อสารเป็นคำพูด แต่มีความสามารถที่จะแสดงออกแล้วผ่านการทำสัญลักษณ์ ซึ่งรูปแบบของการสื่อสารที่สังเกตง่าย เช่น เมื่อเด็กร้องไห้ พ่อแม่จะรับรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าเสียงร้องนั้นบ่งบอกถึงความต้องการอะไร เพื่อที่จะตอบสนองได้อย่างถูกต้อง โดยที่เสียงร้องของเด็กแรกเกิดจะจำกัดอยู่ระหว่าง การส่งเสียงออกมาดังๆ หรือร้องครางเบาๆ หลังจาก 2 เดือนแรกเด็กจะเริ่มเปล่งเสียงร้องสั้นๆ ที่เรียกว่า การเลียนเสียงสระ (เช่น อู อา เป็นต้น) ช่วงเวลานี้เด็กจะเปิดรับความสัมพันธ์ที่ดีผ่านรอยยิ้ม นักวิจัยพบว่าเด็กทารกมักส่งเสียง “coo” เมื่ออยากจะพูด รู้สึกสบายตัว หรือมีความสุข การที่เด็กส่งเสียงออกมานั้นจะเป็นการเพิ่มความยาว และระยะเวลาสำหรับการออกเสียงในครั้งต่อไป โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่ส่งเสียง “coo” ตอบกลับมาด้วยเกิดการโต้ตอบระหว่างกัน ถือเป็นการกระตุ้นทักษะด้านการสื่อสารที่ดีในอนาคต

ในขณะที่เด็กทารกอายุ 3-6 เดือน จะเริ่มเปล่งเสียงที่หลากหลายมากขึ้น มีความเชื่อมโยงในการออกเสียงของสระ และพยัญชนะต่อเนื่องกัน เช่น “da” และ “ga”  ที่เรียกว่า การพูดแบบไม่เป็นภาษา (babbling) โดยที่การเปล่งเสียงเป็นคำสั้น (cooing) และการพูดแบบไม่เป็นภาษา(babbling) อาจไม่ใช่รูปแบบที่แท้จริงของการพูด แต่ถือเป็นพัฒนาการขั้นสำคัญมากที่สุดในการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กทารก

เด็กทารกจะเริ่มคุ้นเคย และตอบสนองกลับเป็นภาษาที่ได้ฟังบ่อยๆ เช่น คำว่า อร่อย (yum) อาจสัมพันธ์กับช่วงเวลาป้อนอาหาร หรือคำว่า “uh oh” อาจมีความหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเวลา ไม่ว่ารูปแบบของการสื่อสารของเด็กทารกจะเป็นอย่างไร (เช่น การร้องไห้ เปล่งเสียงสั้นๆ หรือยิ้ม) สิ่งสำคัญอยู่ที่การตอบสนอง และการกระตุ้นในช่วงเวลาที่เด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกนั้นออกมา ดังนั้นการสื่อสารร่วมกันระหว่างพ่อแม่ และลูก จะดีต่อความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้ เพื่อรู้จักใช้ภาษาต่อไปได้อย่างเหมาะสม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น